สเต็มเซลล์เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตนับตั้งแต่เมื่อสเปิร์มได้ผสมกับไข่สเต็มเซลล์หนึ่งเซลล์จะเริ่มแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาตัวเองไปเป็นเซลล์กว่า 200 ชนิด เพื่อประกอบขึ้นเป็นร่างกายมนุษย์จนสมบูรณ์ในครรภ์มารดา หรือจะกล่าวว่าสเต็มเซลล์คือเซลล์อ่อนที่ยังไม่พัฒนาตัวเองจนสมบูรณ์ก็ย่อมได้สเต็มเซลล์สามารถเจริญเติบโต แบ่งตัวขึ้นมาใหม่ได้อย่างไม่จำกัด และมีศักยภาพพอเพียงที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์หัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือด และเซลล์กระดูก
โดยสเต็มเซลล์ทุกชนิดจะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ 3 ประการ คือสามารถแบ่งตัวขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีสารอาหารที่เพียงพอ ในกรณีที่แบ่งตัวแล้ว ยังต้องคงสภาพการเป็นเซลล์ที่ยังไม่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงเอาไว้ด้วยสามารถพัฒนาตัวเอง ไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ได้มากกว่า 200 ชนิด สำหรับเซลล์ปกติในร่างกายมนุษย์นั้น จะทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของตนเองได้ เช่น เซลล์สมอง ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์กล้ามเนี้อหัวใจได้ อีกทั้งยังไม่สามารถ พัฒนาหรือแบ่งตัวต่อไปได้ ดังนั้นเมื่อเซลล์เหล่านี้ตายลง ก็จะไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทน
กำเนิดสเต็มเซลล์
สเต็มเซลล์ได้ถูกค้นพบในไขกระดูกเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยสองนักวิจัยชาวแคนาดาคือ ดร.เจมส์ อีธิล และ ดร.เออเนส เอแมคคอลัฟ นับแต่นั้นเป็นต้นมา การพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ก็ได้ดำเนินการเรื่อยมาอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงปัจจุบัน
ข้อดีของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากฟัน
ศักยภาพของเทคโนโลยีสเต็มเซลล์ในการรักษาโรค
การบำบัดรักษาด้วยสเต็มเซลล์แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดและในปัจจุบันสเต็มเซลล์เริ่มเป็นที่ยอมรับว่าสามารถรักษาโรคได้หลายชนิดในสหรัฐอเมริกาการบำบัดรักษาด้วยสเต็มเซลล์มีประสิทธิภาพในการโรคเลือดมะเร็งบางชนิดและโรคอื่นๆมานานกว่า 10 ปีและยังมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลกเป็นที่ยอมรับว่าการบำบัดรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในระยะต่อไปจะสามารถนำมาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง อาทิเช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคพาร์กินสัน และภาวะสมองเสื่อมก่อนวัย การได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรค MS และ ALS ข้อเสื่อม โรคที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเสื่อมของอวัยวะ มะเร็งบางชนิด และโรคหัวใจ
นักวิจัยได้ค้นพบว่า เยื่อในของฟันน้ำนมของเด็กบางซี่ ประกอบด้วยเซลล์ชนิด Chondrocyte, Osteoblast, Adipocyte และสเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal เซลล์ชนิดต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้มีศักยภาพอย่างสูงในการรักษาโรคอื่นๆที่มิได้ระบุไว้ในรายการข้างต้นศักยภาพของการนำเอาสเต็มเซลล์จากฟันน้ำนมมาใช้ประโยชน์ในการรักษาจะรวมถึงโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์, พาร์กินสัน และ ALS โรคหัวใจเรื้อรัง ตัวอย่างเช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรังโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและฟันรวมทั้งการนำมาใช้ในการปลูกถ่ายฟันและกระดูกศักยภาพที่มีความสำคัญสูงสุดประการหนึ่ง คือ การนำเอาสเต็มเซลล์ชนิดนี้มาใช้ในการรักษาภาวะอัมพาตที่มีผลสืบเนื่องมาจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิภาพจากการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal จากแหล่งอื่นๆมาแล้วความพยายามในการนำเอาสเต็มเซลล์มารักษาโรคเหล่านี้กำลังมีการดำเนินการโดยนักวิจัยที่มีความสามารถสูงในสถาบันการแพทย์ที่ดีที่สุดหลายแห่งทั่วโลกและเป็นที่ยอมรับว่าการรักษาโรคเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า